แม้ว่าผู้ประกอบการอสังหาริม ศุภาลัยแสนสิริทรัพย์จะขยายอิทธิพลเพิ่มส่วนแบ่ง ในตลาดที่อยู่อาศัยไปถึง 60% แต่ด้วยสภาพการแข่งขันที่รุนแรง ขณะที่ตลาด9,000 ยังไม่พลิกฟื้นกลับคืนสู่สภาพปกติ ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โพสต์กราฟฟิกโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ยุค 4.0 และดิจิทัล เข้ามามีบทบาทอย่างสูงกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ทำให้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อ ความอยู่รอดในระยะยาว พร้อมๆ กับการแก้โจทย์ที่แต่ละบริษัทประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงของบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ คือหนึ่งในการแก้ปัญหากลุ่มลูกค้าที่เคยเป็นจุดแข็ง แต่ในสถานการณ์หนึ่งลูกค้ากลุ่มเดียวกันกลายเป็นจุดอ่อนทำให้ บริษัทติดกับดักจนต้องกระจายความเสี่ยงด้วยการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่
ทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาบริษัทประสบกับอุปสรรคที่ส่งผลให้ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งจากปัจจัยภายในคือ สินค้าค้างขาย (Inventory) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่จับตลาดกลาง-ล่าง สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ การปฏิเสธสินเชื่อ ของสถาบันการเงินที่ยังมีอยู่สูง ทำให้ปี 2560 จึงต้องเป็น "ปีแห่งการปรับ" หรือ "YEAR OF SHIFT" ทิศทางการดำเนินงานของ แอล.พี.เอ็น.ฯ และบริษัทในเครือ
การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงาน ในปีนี้จะเป็นการปรับเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ไปสู่กลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของการรับรู้รายได้ในอนาคต ขณะเดียวกันได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจของบริษัทในเครือ คือ ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส (LPS) ซึ่งจากเดิม ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านการบริหารโครงการเฉพาะภายในกลุ่มบริษัท ไปเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ให้กับบริษัทอสังหาฯ รายอื่น
แต่ในทางตรงกันข้าม การแข่งขันในกลุ่ม ไฮเอนด์ที่รุนแรงขึ้นเป็นลำดับทำให้ เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น ต้องมองหากลุ่ม เป้าหมายใหม่ๆ เช่นกัน ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทได้เริ่มรุกตลาดที่อยู่อาศัยระดับแมสมากขึ้น โดยจะเปิดตัวทาวน์โฮมระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท เนื่องจาก ตลาดกลุ่มนี้ยังมีความต้องการซื้ออยู่จริง แม้ว่าจะมีปัญหาในการขอสินเชื่อกับสถาบัน การเงินอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีโอกาสในการขายได้เนื่องจากไม่ได้จับตลาดล่างมากนัก
ขณะเดียวกัน เอสซี แอสเสท อยู่ระหว่าง เจรจากับธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อจัดทำพร็อพเพอร์ตี้ เทคโนโลยี เพื่อมาช่วยเรื่องการออกแบบ การก่อสร้าง และการบริการที่มีมาตรฐาน ซึ่งมีทั้งสตาร์ทอัพในประเทศและต่างประเทศ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงกลางปีนี้ โดยจะเริ่มเห็นในแนวคิดบ้านรู้ใจ ที่จะเปิดตัวในโครงการเซ็นทริค ปลายปีนี้ ที่มีดีไซน์ล้ำสมัย ประหยัดพลังงาน เป็นต้น
จะเห็นว่ากระแส ดิจิทัล ไลฟ์ กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจอสังหาฯ ทั้งในแง่ของการทำตลาด และการให้บริการ ซึ่งหลายบริษัทกำลังเดินหน้ามุ่งสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัว พีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตลาดอสังหาฯ แข่งขันกันด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.ทำเล 2.คุณภาพ ของโครงการ และ 3.ราคา แต่นับจากนี้ไป เพียงแค่ 3 ปัจจัยนี้จะไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
การแข่งขันในตลาดจะกลายเป็นการแข่งกัน ด้วยปัจจัยที่ 4 หรือปัจจัยที่ 5 ในยุค "Digital Life Attitude" หรือการมี Butler คือผู้คอย บริการผู้บริโภค ที่มีนวัตกรรม นำเทคโนโลยี การ เป็นมากกว่าคอนโดมิเนียมด้วยบริการระดับโรงแรม (Hotel Service) การจับมือกับพันธมิตร เพื่อมอบสิทธิพิเศษในการใช้ชีวิตให้แก่ผู้อยู่อาศัย
ขณะที่บริษัท แสนสิริ ได้ร่วมทุนกับธนาคาร ไทยพาณิชย์ เปิดตัว "สิริ เวนเจอร์" บริษัทร่วมทุน ในรูปแบบ Corporate Venture Capital ทำการวิจัยและลงทุน เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ (R&D) ด้าน Property Technology อย่างเต็มรูปแบบ โดยเน้นเปิดโอกาสให้กลุ่มสตาร์ทอัพพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมเกี่ยวกับการใช้ไลฟ์สไตล์ในที่อยู่อาศัยจนสำเร็จใช้งานจริงและ สนับสนุนให้เข้าถึงธุรกิจอสังหาฯ โดยตรง
ขณะที่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เปิดตัว Ananda UrbanTech ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาผสมผสานกับการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตระหนักดีว่าเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกพื้นที่และทุกประเภทของเทคโนโลยี จึงทำให้ต้องเร่งสร้าง Solutions ใหม่ๆ ที่สามารถเพิ่มมูลค่ามากยิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล
ทั้งหมดนี้คือภาพของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นปี 2560 และจะขยายวงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนไม่เหลือภาพอสังหาฯ ในรูปแบบ เดิมๆ ในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน
ปรับองค์กรรับยุคดิจิทัลเต็มตัว
ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้นเป็นลำดับ จากเดิมแค่เป็นเครื่องมือสร้างภาพลักษณ์ที่ดูทันสมัยให้กับองค์กร แปรเปลี่ยนมาสู่เครื่องมือทางการตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยมีสื่อออนไลน์เป็นตัวเชื่อม ทำให้กระบวนการซื้อขายบ้านถูกตัดตอนให้สั้นลงและง่ายขึ้น จากเดิมต้องตระเวนหาข้อมูลตามโครงการต่างๆ ที่สนใจ แต่วันนี้ แค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส ก็สามารถเลือกดูข้อมูลโครงการที่สนใจได้ทุกโครงการทุกทำเล
แม้ว่าในวันนี้ การตัดสินใจซื้อจะยังต้องลงไปดูของจริงที่โครงการอยู่ก็ตาม แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ ทันสมัยในอนาคตอันใกล้นี้ การซื้อขายบ้านอาจจะอยู่ในระบบออนไลน์ทั้งหมดก็สามารถเป็นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมหนึ่งของการตลาดอสังหาฯ บนโลกออนไลน์ แม้จะมีปริมาณคนที่อาจจะเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมากมายมหาศาล ด้วยสามารถหาได้ด้วยเครื่องมือการตลาดในออนไลน์ แต่เอาเข้าจริง จะเป็นลูกค้าตัวจริงได้สักกี่ราย เพราะนั่นคือโลกออนไลน์ โลกเสมือนจริงนั่นเอง
นอกจากนี้ ดิจิทัลยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายรายต่างรุกเข้าสู่สินค้าสมาร์ทโฮมที่เชื่อมโยงสมาร์ทโฟนด้วย Internet of Things ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น การปรับตัวเข้าสู่โหมดดิจิทัลของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรองรับกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ยุคใหม่ ที่มีลมหายใจเป็นดิจิทัล จึงกลายเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว และต้องเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันนี้ เพราะยิ่งช้าก็ยิ่งเท่ากับพลาดโอกาสไปทุกนาที--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์