QR Code

LINE Official

@interhome

หน้าหลัก ฝากขายบ้าน
ฝากขายที่ดินกับเรา
ติดต่อ ฝากซิ้อ
ฝากขายบ้าน ที่ดิน
ทีมงานมืออาชีพ

ต่างชาติ สนซื้อประกัน-อสังหาฯ



ต่างชาติ  สนซื้อประกัน-อสังหาฯ


March 16, 2017

          ต่างชาติสนซื้อ ประกัน-อสังหาฯ “เบเคอร์”ชี้แนวโน้มควบรวมกิจการในไทยโตสูง แจงเหตุทางการออกกฎระเบียบใหม่-ลงทุนเมกะโปรเจคดันดีลที่ปรึกษาคึกคักตั้งเป้ารายได้โต20%
          เบเคอร์ แอนด์แม็คเค็นซี่ เผยแนวโน้มการซื้อและควบรวมกิจการในไทยยังเติบโต มอง 2 อุตสาหกรรมคือ ธุรกิจประกันภัยและอสังหาริมทรัพย์เป้าหมายหลัก นักลงทุนต่างชาติสนใจ แจงผลงาน 12 เดือนที่ผ่านมา เป็นที่ปรึกษาไปแล้ว 1,200 ดีล รวม 260 กิจการ มูลค่าตั้งแต่ระดับร้อยล้าน จนถึง 4-5 หมื่นล้านบาท
นายทินวัฒน์ พุกกะมาน กรรมการผู้จัดการ และที่ปรึกษากฎหมายด้านการเงินและธนาคาร บริษัท เบเคอร์ แม็คเค็นซี่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายในปีนี้ ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจากการให้บริการจะเติบโตในระดับ 17-20% เช่นเดียวกับเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา โดยในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา บริษัทเบเคอร์แม็คเค็นซี่ในไทยมีลูกค้าแล้ว 260 ราย รวม 1,200 ดีล มีทั้งดีลที่มีมูลค่าในหลักร้อยล้านบาท ไปจนถึงดีลใหญ่ระดับ 4-5 หมื่นล้านบาท หลากหลายธุรกิจทั้งเทเลคอม อสังหาริมทรัพย์และธนาคาร เป็นต้น
“การทำดีลต่างๆ ยังมีต่อเนื่อง มีทั้งต่างประเทศมาไทย และนักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยมีกฎหมายใหม่ๆ ออกมาจำนวนมาก ยิ่งเป็นโอกาสของบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย เพราะผู้ประกอบการ ต้องการทำความเข้าใจ และทำธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของทางการ เช่นการทำธุรกิจฟินเทคของภาคธนาคาร รวมถึงการบริหารสินทรัพย์รองรับภาษีมรดก เป็นต้น”
นอกจากนี้การที่ภาครัฐมีโครงการลงทุนต่างๆ ออกมาต่อเนื่อง ทั้งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรถไฟ และสนามบิน ก็เป็นโอกาสในการเป็นที่ปรึกษากฎหมายในการทำสัญญาเพื่อรับงานจากภาครัฐ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติก็ยังสนใจเข้ามาลงทุนในไทยอยู่ จากที่เห็นก็ไม่ได้ลดลง แต่อาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนก็ต้องการที่ปรึกษากฎหมาย และต้องการรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ด้านนายสรชน บุญสอง ที่ปรึกษากฎหมายผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์และการควบรวมกิจการ บริษัท เบเคอร์ฯ กล่าวเสริมว่า การซื้อกิจการและควบรวมกิจการในประเทศไทย ยังมีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา จะมีปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว เพราะการที่เศรษฐกิจชะลอ ก็เป็นโอกาสในการซื้อและควบรวมกิจการ เพราะบางธุรกิจก็ต้องการได้ต้นทุนที่ถูกลง
ส่วนในปีนี้มองว่ามีหลายธุรกิจที่มีโอกาสเกิดการร่วมลงทุน และการรวบรวมกิจการ โดยเฉพาะธุรกิจประกันภัย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีนักลงทุนต่างประเทศสนใจ
โดยในส่วนของธุรกิจประกันภัยนั้น สืบเนื่องมาจากกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เปิดเสรีธุรกิจประกัน พร้อมกับมีความเข้มงวดในเรื่องการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์ ซึ่งอาจจะทำให้บริษัทประกันขนาดเล็กประสบปัญหาและมีการควบรวมกิจการกันมากขึ้น ซึ่งก็ตรงกับความต้องการของทางการ ที่ต้องการให้รายเล็กควบรวมกันให้ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นผลดีกับผู้บริโภค สร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ
“การควบรวมกิจการในธุรกิจประกันได้ผลักดันมาหลายปี แต่ไม่เกิด แต่ต้นปี กระทรวงการคลังและคปภ. ออกเกณฑ์ใหม่ เปิดเสรีให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% และเข้มงวดเรื่องเงินกองทุน ซึ่งหลังเปิดเสรี ก็มีบริษัทประกันต่างชาติ สนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น ทั้งการเพิ่มทุนในบริษัทเดิม หรือซื้อกิจการ แล้วขยายกิจการไปประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค หรือรีจินัล ฮับ”
อย่างไรก็ตามบริษัทต่างชาติที่สนใจซื้อบริษัทประกันขนาดใหญ่ ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่ไม่มีความต้องการที่จะขาย มีแต่บริษัทขนาดเล็กที่ต้องการขายหุ้นซึ่งก็ไม่ตรงตามความต้องการ จึงอยากเห็นการควบรวมบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กเพื่อให้ใหญ่ขึ้นแล้วค่อยขายหุ้น ซึ่งอาจจะเห็น 3-4 บริษัทในปีนี้ควบรวม แล้วค่อยหาพันธมิตร
“มีกองทุนต่างประเทศหลายรายสนใจเข้ามาคุย ทางบริษัทประกันและกองทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจประกัน ซึ่งนอกจากกฎเกณฑ์ของภาครัฐที่เอื้ออำนวยในส่วนของธุรกิจเองก็มีความน่าสนใจ เช่น ธุรกิจรับประกันต่อ ที่ปัจจุบันมีประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง โดยบริษัทประกันในไทย ส่งไปประกันต่อคิดเป็นมูลประกันสูงถึง 4 แสนล้านบาท ขณะที่กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน หรือซีแอลเอ็มวี ก็ส่งประกันต่อไปที่สิงคโปร์คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 6 แสนล้านบาทซึ่งเติบโตขึ้นจากเดิมอยู่ที่ระดับ300,000-400,000 ล้านบาท”
ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น ต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในกิจการโรงแรมและที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในไทยจำนวนมาก แม้ว่าปัจจุบันจะมีโรงแรมในไทยจำนวนมากแต่ก็ยังไม่เพียงพอ โดยที่ผ่านมาจะเริ่มเห็นนักลงทุนจากญี่ปุ่นและจีนเข้ามาลงทุนหรือซื้อกิจการในไทยบ้างแล้ว โดยนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจเข้ามาในรูปแบบการร่วมลงทุนกับขณะที่นักลงทุนจีนสนใจเข้ามาซื้อกิจการเลย
นายสรชนกล่าวว่า แม้ว่าการซื้อและควบรวมกิจการของไทย ยังมีต่อเนื่อง แต่เมื่อเทียบกับต่างประเทศ จะพบว่าคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากโดยในช่วงสามปีที่ผ่านมามีการควบรวมกิจการในประเทศไทย ประมาณ 100 ดีล คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2% ของโกลบอลเอ็มแอนด์เอ

          ที่มา: www.bangkokbiznews.com

แบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจ

บนช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ

Share On Line

คัดลอกบทความ