"ไพรินทร์" กางแผน 1 ล้านล้าน ผุดไฮสปีด 2,800 กม. เชื่อมอาเซียน พร้อมเร่งขยายรางรถไฟเชื่อมซีแอลเอ็มวี หวังปั้นตลาดขนส่งเส้นทางยูนนาน-หนองคาย-อีอีซี รับเส้นทางสายไหมใหม่
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายในงาน "วิศวกรรมแห่งชาติ 2561" ว่า เศรษฐกิจอาเซียนเติบโตอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้รัฐบาลจึงต้องเร่งวางระบบโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อชาติเพื่อนบ้าน เพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจในระยะยาวและไปสู่การเป็นศูนย์กลางอาเซียน โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมอาเซียน 8 เส้นทาง มูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านบาท รวมระยะทาง 2,800 กม. อาทิ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม สปป.ลาว-จีนตอนใต้ เส้นทางกรุงเทพฯ-นคร ราชสีมา-หนองคาย ระยะทางราว 600 กม.
รถไฟความเร็วสูงเชื่อมอีอีซีและกัมพูชา เส้นทางกรุง เทพฯ-สนามบินอู่ตะเภา และเฟส 2 ช่วงอู่ตะเภา-ระยอง ระยะ ทางรวม 400 กม., รถไฟความ เร็วสูงเชื่อมมาเลเซีย เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน-สุราษฎร์ธานี และเฟส 2 ช่วงสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 1,100 กม., เส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทางราว 700 กม.
สำหรับรถไฟดั้งเดิมนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการผลักดันพัฒนาให้ระบบรางรถไฟเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านซีแอลเอ็มวีแบบ เส้นทางทรานส์อาเซียน เพื่อรอง รับนโยบายเส้นทางสายไหมใหม่ (Belt&Road Initiative) โดยจะเริ่มจากการเดินรถไฟเชื่อมต่อหนองคาย-เวียงจันทน์ เข้า สปป.ลาว เนื่องจากเป็นเส้นทางขนส่งสินค้ายุทธศาสตร์สายไหมของจีน เชื่อมยูนนาน-สปป.ลาวหนองคาย-อีอีซี ก่อนกระจายสินค้าไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกที่ท่าเรือแหลมฉบัง
นอกจากนี้จะเร่งเชื่อม เส้นทางรถไฟสายอรัญประ เทศ-ปอยเปต-พนมเปญ ซึ่งจะเปิดเดินรถได้ในอีก 2 เดือนข้างหน้า รวมถึงการต่อขยายเส้นทาง รถไฟเข้าเมียนมา บริเวณด่านชายแดนเจดีย์สามองค์ ด้านมา เลเซียนั้นในอนาคตจะพัฒนารถจักรไฟฟ้าขนส่งสินค้าผ่านด่านปาดังเบซาร์ อย่างไรก็ตาม เส้นทางขนส่งสินค้า สปป.ลาว-อีอีซีนั้นมีศักยภาพอย่างมากจนมีเอกชนสนใจเข้าลงทุนงานก่อสร้างและงานระบบเดินรถเส้นทางขอนแก่น-แหลมฉบัง
นายไพรินทร์กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตทางราง เพื่อสร้างรายได้นับแสนล้าน บาทให้กับประเทศและการกระจายรายได้ฐานราก เนื่องจากประเทศอาเซียนหลายชาติอยู่ระหว่างลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จึงมีความต้องการตู้ขบวน รถไฟฟ้าและอะไหล่ด้านรางจำนวนมาก เมื่อโฟกัสดูแค่ในประเทศไทยแล้วมีดีมานด์หลายหมื่นล้านบาทจากการพัฒนารถไฟฟ้าเมืองหลวง 10 เส้นทาง รวม 400 กม. จะต้องการรถไฟฟ้าอีกราว 500 คัน แบ่งเป็นคันละ 3-4 โบกี้
นอกจากนี้ยังมีงานอะไหล่รถไฟทางคู่ที่พัฒนาอีกหลายพัน กม. รวมถึงงานชิ้นส่วนรถ ไฟฟ้าความเร็วสูง ดังนั้นกระ ทรวงคมนาคมจึงเร่งรัดการแต่ง ตั้งกรมการขนส่งทางรางซึ่งจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนเพื่อกำหนดมาตรฐานและกำกับดูแลอุตสาหกรรมราง รวมถึงการออกใบอนุญาตบุคลากรขับรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงอีกด้วย
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
2 พฤศจิกายน 2561