"เบื้องต้นฟังแล้วเป็นข่าวดี เพราะช่วง 4 เดือนนับตั้งแต่บังคับใช้มาตรการ LTV สอบถามสมาชิกของสมาคมพบว่า สินเชื่อบ้านแนวราบเคยมียอดปฏิเสธ สินเชื่อ หรือยอดกู้ไม่ผ่านเดิมสูงอยู่แล้ว เจอบังคับเงินดาวน์สูงเข้าไปอีก รายที่ลูกค้าเคยกู้ไม่ผ่าน 30% เพิ่มเป็น 50% ส่วนรายที่ลูกค้าเคยกู้ไม่ผ่าน 50% ก็เพิ่มเป็น 70% แสดงว่า LTV มีผลกระทบกับยอดขายแนวราบจริง ๆ"
"โครงการแนวราบที่รับผลกระทบจากการขอสินเชื่อแบบมีผู้กู้ร่วมเป็นตลาดแมส บ้านเดี่ยวอยู่ในกลุ่มราคา 4-6 ล้าน บ้านแฝด 3-5 ล้าน และ ทาวน์เฮาส์ราคา 1 ล้านปลาย-4 ล้าน"
"สาเหตุที่ยอดกู้ไม่ผ่านสูงขึ้น มีข้อมูลเซอร์ไพรส์มาจากผู้กู้ร่วม หรือผู้ถูกยืมชื่อ ยืมเครดิต ไม่ยอมให้ความร่วมมือ ไม่ยอมเซ็นชื่อกู้ร่วมด้วย ทำให้ผู้กู้หลักยื่นขอสินเชื่อโดยไม่มีผู้กู้ร่วม สินเชื่อก็เลยไม่ผ่าน เพราะฉะนั้น ปลดล็อกการกู้ร่วมแล้ว หวังว่าจะทำให้ตลาดครึ่งปีหลัง พลิกฟื้นได้ดีขึ้น"
"LTV แล้วแต่พิจารณาของแบงก์ชาติ เป็นการป้องกันปัญหาระยะยาว แต่ว่าระยะสั้นต้องแลกกันหรือเปล่า..."
"ถามผมว่าแบงก์ชาติปลดล็อกกู้ร่วมช่วยได้มากหรือน้อย ? ในพอร์ตเรามี สินเชื่อกู้ร่วม 10% ของโปรเซสการโอน และเราก็เช็กดูว่ามีกู้ร่วมสัดส่วนเท่านี้ เซ็กเมนต์มีเดียมทูโลว์ คิดว่าปลดล็อกแล้วช่วยได้ส่วนหนึ่ง"
"ตอนนี้ assume ว่าช่วยได้ 10% แต่ตอนนี้ยังตอบไม่ได้จริง ๆ ว่าช่วยได้ทั้ง 10% หรือเปล่า เพราะมาตรการตัวนี้เพิ่งออกมา ยังต้องมอนิเตอร์กัน โดยกลุ่มกู้ร่วมราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท"
"สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผมเคยพูดไปครั้งหนึ่งว่า เศรษฐกิจช่วงขาลง 3-4 ปีที่แล้ว ต้องช่วย ๆ กัน ข่าวสารที่ออกมา อสังหาฯลึก ๆ เลย ธุรกิจช่วงนี้ผมมองว่าดอกเบี้ย MLR ลดลงมา จะช่วยทำให้ธุรกิจคล่องตัวขึ้น ส่งออกได้ดีขึ้น ภัยแล้งทำยังไงแก้ปัญหาได้เร็ว ราคาพืชเกษตรทำให้สูงขึ้นได้ ถ้าภาพรวมดีขึ้น ผมว่าช่วยเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้"
"การกู้ร่วมถึงระดับหนึ่งที่ผู้กู้ร่วมลดภาระหนี้ลงระดับหนึ่ง ก็ให้ปลดล็อกผู้กู้ร่วมออกจากโฉนด ไม่เช่นนั้นผู้กู้ร่วมจะมีภาระผูกพันไปยาวถึง 20 ปี เป็นเรื่องไม่ยุติธรรมกับกลุ่มนี้ที่จะมีบ้านเป็นของตนเองในอนาคต"
"การปลดล็อกผู้กู้ร่วมของแบงก์ชาติถือเป็นเรื่องที่ดี จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อ ในภาพแมโครได้เพิ่มขึ้น 10% หากจะช่วยเหลือก็ควรพิจารณาปลดภาระ ผู้กู้ร่วมออก โดยพิจารณาจากผู้กู้หลักที่มีความสามารถชำระหนี้ที่ดีและต่อเนื่อง อยากฝากเรื่องนี้ไปถึงธนาคารด้วย ไม่ใช่ฝากไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยเพียงอย่างเดียว"
"เศรษฐกิจโลกมีการพยากรณ์ว่า ทุก 12 ปีจะเกิด recession หรือภาวะถดถอย ปีนี้เราอยู่ในวงจร 11 ปี โดยที่มีเทรดวอร์เข้ามาเป็นตัวแทรก และถ้ายังยืดเยื้อไปนาน ๆ กว่านี้ อาจกลายเป็นตัวการทำให้รีเซสชั่นได้เร็วขึ้น สงครามการค้าอเมริกากับจีนสู้กันแบบไม่มีใครยอมใคร ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ตลอด เราเป็นนักบริหาร กลัวการทำธุรกิจไม่ได้ แต่บริหารความเสี่ยง ป้องกันความเสี่ยงได้"
"ครึ่งปีหลัง 2562 ดูยอดขายดีอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องดูว่าใครมีกำไรเท่าไหร่ จ่ายโบนัสพนักงานได้หรือไม่ ในส่วน ลลิลฯปีนี้มั่นใจว่า ยอดขายอาจมีสัดส่วนเท่ากับ 20% ของบริษัทใหญ่บางบริษัท แต่กำไรไม่ด้อยกว่าแน่นอน"
"ไม่ได้ช่วยมาก เพราะการกู้ร่วมเป็นลูกค้าสินเชื่อกลุ่มเครดิตด้อยอยู่แล้ว และจริง ๆ คนกู้ร่วมเป็นกลุ่มขอสินเชื่อจาก ธอส. (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) ธ.ออมสิน ทาร์เก็ตลูกค้ากลุ่ม B-, C ซื้อคอนโดฯราคา 1.8 ล้าน ซึ่งไม่ได้ มีผลอะไรต่อสภาพตลาดโดยรวม มากนัก"
"ถ้าถามว่าช่วยได้ไหม ก็มีส่วนช่วยแหละ แต่ไม่ได้มีอิมแพ็กต์ใหญ่เหมือนตอนออก LTV-loan to value คอนโทรลสินเชื่อบ้านหลัง 2-3-4 เพราะมีกลุ่มนักลงทุนที่ต้องใช้เงินตัวเองมากขึ้น ต้องบอกว่าเซ็กเมนต์นักลงทุนมีสัดส่วน 30% ของตลาดรวม อาจถึง 40% ก็มีผล กระทบในแง่ LTV จากการซื้อบ้านหลัง 2-3-4 ในขณะที่การปลดล็อกผู้กู้ร่วม เป็น (ลูกค้า) อีกเซ็กเมนต์"
"ยิ่งถ้าเป็นการกู้ร่วมแบบไม่มีกรรมสิทธิ์ ยิ่งเหลือน้อยลงไปอีก (หัวเราะ) ซึ่ง ธอส.น่าจะมีข้อมูลตัวนี้เยอะกว่า เพราะกลุ่มคนที่มีความจำเป็นต้องกู้ร่วมส่วนใหญ่ใช้บริการ ธอส.เป็นหลัก ผมก็ไม่รู้ว่ามีผลกระทบในเชิงพวกนี้ยังไงบ้าง ข้อมูลตัวเลขต้องถามแบงก์"
"(ข้อแนะนำ) ...ผมว่าปัญหาเรื่องการปล่อยสินเชื่อหรือหนี้เสียธนาคาร ไม่ได้เกี่ยวกับการกู้หลัง 2-3-4 ปัญหาเป็นเรื่องการวิเคราะห์สินเชื่อ หรือ เป้าหมายสินเชื่อของแบงก์ ฉะนั้น แทนที่จะมาคุมผู้กู้หลัง 2-3-4 ควรกลับไปดูไหมว่า ระบบการพิจารณาสินเชื่อของแบงก์เหมาะสมหรือไม่ ต้องไปดูปัญหาหนี้เสียมากกว่าทำนโยบายเหวี่ยงแห เพราะตอนนี้กลายเป็นว่ารับผลกระทบ กันหมด"
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
26 สิงหาคม 2562