QR Code

LINE Official

@interhome

หน้าหลัก ฝากขายบ้าน
ฝากขายที่ดินกับเรา
ติดต่อ ฝากซิ้อ
ฝากขายบ้าน ที่ดิน
ทีมงานมืออาชีพ

ช.การช่างไม่พลาดชิงไฮสปีค BTS ดึงยูซิตี้ปั้นมักกะสันเทียบชั้นฮ่องกง



ช.การช่างไม่พลาดชิงไฮสปีค BTS ดึงยูซิตี้ปั้นมักกะสันเทียบชั้นฮ่องกง

10 บิ๊กธุรกิจไทย จีน ญี่ปุ่น ซื้อซองประมูล ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เจรจาจับขั้วยัง ฝุ่นตลบ "บีทีเอส" ดึง "ยูซิตี้" ซุ่มศึกษา โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส ปั้นมักกะสันศูนย์กลางเดินทาง ช็อปปิ้ง เทียบชั้นฮ่องกง "ช.การช่าง" ไม่ยอมตกขบวน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังเปิดให้เอกชนทั้งไทยและต่างชาติซื้อเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุนกว่า 2.2 แสนล้านบาท รูปแบบ PPP net cost 50 ปี ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.-22 มิ.ย. 2561 มีผู้มาซื้อซองประมูลรวมทั้งสิ้น 10 ราย ทั้งบริษัทไทย ญี่ปุ่น และจีน โดยจะเปิดให้ซื้อซองถึงวันที่ 9 ก.ค.นี้ จากนั้นให้เวลา 4 เดือนเพื่อให้เอกชนจัดทำรายละเอียด จะเปิดให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 12 พ.ย. 2561 และได้เอกชนลงทุนภายในสิ้นปีนี้

สำหรับ 10 บริษัทที่ซื้อเอกสาร คือ 1.บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง 2.บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง 3.บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 4.บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 5.บจ.เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด บริษัทลูกของ ปตท. 6.บจ.อิโตชู คอร์ปอเรชั่นจากญี่ปุ่น 7.บจ.ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่นจากจีน 8.บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น 9.บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM บริษัทในเครือ บมจ.ช.การช่าง และ 10.บจ.ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่นจากญี่ปุ่น

แหล่งข่าวจาก บมจ.ช.การช่าง กล่าวว่า วันที่ 25 มิ.ย.นี้ บริษัทจะเข้าไปซื้อซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากตามเงื่อนไขของ ร.ฟ.ท. ผู้ร่วมลงทุนจะต้องซื้อเอกสารทุกราย ซึ่งบริษัทจะร่วมกับ BEM ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วงเข้าร่วมประมูล ส่วนจะร่วมทุนกับใครเพิ่มอยู่ระหว่างการพิจารณา รายงานข่าวแจ้งว่า ดูจากรายชื่อที่ซื้อซองประกวดราคา คาดว่าจะยื่นประมูลทุกราย เนื่องจากค่าซื้อซองค่อนข้างสูงที่ 1 ล้านบาท ถ้าไม่เข้าร่วมคงจะไม่ยอมเสียเงินซื้อ ส่วนใครจะร่วมทุนกับใครจะชัดเจนหลังปิดขายซอง 9 ก.ค.นี้

รายงานข่าวจาก บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง ระบุว่า บริษัทสนใจจะยื่นประมูล เนื่องจากเชี่ยวชาญด้านรถไฟฟ้า ส่วนการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสที่สถานีมักกะสันและศรีราชา ล่าสุด ให้ บมจ.ยูซิตี้ ซึ่งดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือบีทีเอส ศึกษารายละเอียดโมเดลที่จะพัฒนาแล้ว มองว่าการพัฒนาสถานีศรีราชาเนื้อที่ 25 ไร่ไม่ยาก แต่ที่สถานีมักกะสัน พื้นที่ 150 ไร่ กลางเมืองค่อนข้างยาก เบื้องต้นคอนเซ็ปต์จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางทั้งในเมืองและไปยังสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา เพราะจะมีจุดเช็กอินอยู่ที่สถานี ส่วนบริเวณรอบ ๆ จะพัฒนา เป็นเชิงพาณิชย์ เช่น โรงแรม ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน มีพื้นที่สีเขียว และพื้นที่ประวัติศาสตร์ เข้ากับคอนเซ็ปต์ของการรถไฟฯ ที่ต้องการให้มักกะสันเป็นปอดแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
25 มิถุนายน 2561

แบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจ

บนช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ

Share On Line

คัดลอกบทความ