QR Code

LINE Official

@interhome

หน้าหลัก ฝากขายบ้าน
ฝากขายที่ดินกับเรา
ติดต่อ ฝากซิ้อ
ฝากขายบ้าน ที่ดิน
ทีมงานมืออาชีพ

คลังหนุนแบงก์ชาติคุมเข้มปล่อยกู้ สกัดนักลงทุน-เก็งกำไรอสังหาฯ



คลังหนุนแบงก์ชาติออกมาตรการสกัดนักลงทุน-เก็งกำไรในตลาดอสังหาฯ ป้องกันหนี้เสีย ด้านเอกชนโวยปัญหาเกิดจากคนส่วนน้อย ไม่ควร แนะแจ้งล่วงหน้าให้ผู้บริโภค มีเวลาเก็บเงินก้อนดาวน์บ้านเพิ่ม ด้านแบงก์แจงลูกค้าซื้อบ้านแพงกู้แค่ 50-60% ของราคาบ้าน

จากกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมปรับปรุงเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยกำหนด ให้มีเงินดาวน์ขั้นต่ำ สำหรับการกู้หลังที่ 2 ขึ้นไป หรือที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่า 10 ล้านบาทขึ้นไป โดยต้องวางดาวน์อย่างน้อย 20% ของมูลค่าหลักประกัน (LTV limit 80%) และปรับเกณฑ์การนับสินเชื่อ topup ที่ใช้หลักประกันเดียวกันให้สะท้อนความเสี่ยง โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.62 เป็นต้นไป เฉพาะกับการขอกู้ครั้งใหม่ (ไม่มีผลสำหรับการขอกู้ก่อนหน้า) และไม่มีผลกระทบสำหรับการซื้อบ้านหลังแรก

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณบุรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในวันที่ 11 ต.ค.2561 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เรียกผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าหารือถึงมาตรการควบคุม การกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเชื่อว่า ทุกฝ่ายจะนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง นำมาปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปและให้ได้ข้อยุติที่เหมาะสม ในการออกมาตรการเพื่อป้องกันการลงทุน และป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสีย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจประเทศ

ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เชื่อว่าการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังไม่มีความน่ากังวลมาก เนื่องจากปริมาณซัปพลายในตลาดปีนี้ มีน้อยกว่าปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่พบความผิดปกติ โดยปริมาณการโอนที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนยอดการจองยังทรงตัว จึงไม่ควรกังวลอะไร

ทั้งนี้ ผู้ที่จะได้รับผลกระทบอย่างมาก คือ ผู้ซื้อโครงการที่อยู่อาศัยที่ใกล้โอน ซึ่งต้องมีเงินก้อนในการวางดาวน์ และไม่ได้เตรียมพร้อมรับมาตรการใหม่ที่มีกฎเกณฑ์ใหม่ อาจจะชะลอการโอนหรือหากบางรายอาจถูกปฏิเสธคำขอสินเชื่อ ส่งผลกระทบมาที่ผู้ประกอบการ ทำให้โครงการดังกล่าวโอนไม่ได้ตามแผนงานที่วางไว้ กลายเป็นสต๊อกเหลือขาย ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อตลาดอสังหาฯในระยะต่อมา และกระทบต่อภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศได้

ส่วนกรณีที่มี NPL ของกลุ่มที่อยู่อาศัยระดับบนราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปสูงมากขึ้น ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวไม่น่าจะเป็นกลุ่มที่เป็นปัญหาหลักในการทำให้ NPL ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นทั้งระบบ เพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และกลุ่มลูกค้าที่ซื้อบ้านเกิน 10 ล้านบาท จากสถิติจะมีการขอสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 50% ของราคาที่อยู่อาศัย และกลุ่มบ้าน 10 ล้านบาทขึ้นไปมีสัดส่วนในตลาดไม่ ถึง 10%

โดยภาพรวมสัดส่วนของลูกค้าที่ซื้อบ้านราคาสูงและใช้วงเงินกู้สูงจะมีในพอร์ตของแต่ละธนาคารไม่มากนัก และสัดส่วนของวงเงินกู้ที่ใช้เพียง 50-60% ของมูลค่าบ้าน การเพิ่มขึ้นของ NPL เกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจชะลอตัว แม้ว่าขณะนี้ภาพรวมของเศรษฐกิจที่เติบโต แต่ยังเห็น NPL เพิ่มขึ้นถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติ

 

ที่มา : ผู้จัดการรายวัน 360 องศา

5 ตุลาคม 2561

แบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจ

บนช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ

Share On Line

คัดลอกบทความ