QR Code

LINE Official

@interhome

หน้าหลัก ฝากขายบ้าน
ฝากขายที่ดินกับเรา
ติดต่อ ฝากซิ้อ
ฝากขายบ้าน ที่ดิน
ทีมงานมืออาชีพ

ซี.พี.แลนด์ 6 ปีที่รอคอย เปิดหน้าดิน 3,000 ไร่ ฮับ EEC



ที่ดินผืนใหญ่กว่า 3,000 ไร่ ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนาและ ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ของ "บมจ.ซี.พี.แลนด์" บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใต้ปีก เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ที่ใช้เวลา 30 ปี ซื้อเก็บสะสมจนกลายเป็นผืนเดียวกัน ปัจจุบันตั้งอยู่ในทำเล ที่มีจุดเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมล้อมรอบ ทั้งถนนสายหลัก 4-6 ช่องจราจร ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 35 กม. สนามบิน สุวรรณภูมิ 145 กม. ท่าเรือมาบตาพุด 16 กม. ท่าเรือแหลมฉบัง 60 กม. สถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา 35 กม.

ล่าสุดที่ดินถูกนำมาพัฒนานิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน บนพื้นที่ 3,068 ไร่ มีชื่อว่า "ซีพีจีซี" เป็นการร่วมทุนระหว่าง ซี.พี.แลนด์กับบริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด รัฐวิสาหกิจจาก มณฑลหนานหนิงของประเทศจีน วงเงิน 3,500 ล้านบาท สัดส่วน 50:50 จัดตั้งบริษัท ซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขับเคลื่อนโครงการ รับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่โครงการได้รับสิทธิพิเศษพัฒนาอย่างเต็มที่

ขณะนี้นิคมแห่งนี้กำลังเป็นรูปเป็นร่าง หลังใช้เวลาร่วม 6 ปีผลักดันในการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวมใหม่ จนมาสำเร็จเมื่อปีที่ผ่านมา หลังรัฐบาลประกาศ จ.ระยองเป็นเขตเศรษฐกิจอีอีซี ทำให้กฎเหล็กที่ค้างคาถูกคลายลงโดยปริยาย

"สุนทร อรุณานนท์ชัย" ประธานกรรมการ บริษัท ซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี. แลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการนี้ ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 8,800 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในปี 2562 เปิดขายพื้นที่ภายในไตรมาส 2 ของปี 2562 เนื่องจากต้องรอการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประกาศเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมและอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ขณะนี้ออกแบบโครงการเสร็จแล้วเตรียมจะยื่นขออนุมัติโครงการ

การที่ ซี.พี.แลนด์ลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเนื่องจากมองเห็นโอกาสและที่ดินแปลงดังกล่าวก็อยู่ในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ด เป็นจุดที่เหมาะกับการลงทุน ซึ่งบริษัทเตรียมตัวมาหลายปี โดยพื้นที่พัฒนาเบื้องต้นวางไว้ที่ประมาณ 3,000 ไร่ จะพัฒนาให้เต็มพื้นที่ มีพื้นที่อุตสาหกรรม 2,205 ไร่ พาณิชยกรรม 112 ไร่ พื้นที่สีเขียว 309 ไร่ และสาธารณูปโภค 443 ไร่ จะเลือก 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve กับ new S-curve) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตามที่รัฐบาลไทยประชาสัมพันธ์มาลงทุนภายในประเทศ เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การแพทย์ครบวงจร คาดว่ามีบริษัทจากจีนประมาณ 100 แห่งจะมาลงทุน แต่อาจจะใช้พื้นที่ไม่มาก ประมาณรายละ 10 ไร่ขึ้นไป

ขณะนี้ได้เซ็นบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ 3 องค์กรใหญ่ของจีน คือ 1.สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน เป็น การร่วมมือด้านโนว์ฮาวและสนับสนุนให้อุตสาหกรรมของประเทศจีนที่ใช้เทคโนโลยีสูงมาลงทุน 2. บริษัท ไชน่า เอ็นเนอร์จี้ เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป สนใจจะลงทุนด้านธุรกิจพลังงาน และ 3.บริษัท CAS ION MEDICAL TECHNOLOGY ECONOMIC AND COMMERCIAL COUNSELOR  ที่สนใจจะลงทุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ระบบตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และระบบการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น

ส่วนแผนการพัฒนาเมืองใหม่มา รองรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและเมืองการบินอู่ตะเภา นายสุนทรกล่าวว่า ซี.พี.แลนด์ยังไม่มีแผนลงทุนอะไร แต่เชื่อว่าบริษัทอื่นในเครือ ซี.พี. น่าจะมีแผนพัฒนาอยู่ ถึงจะไม่มีโครงการพัฒนามารองรับ แต่หลายคนคาดว่านิคมอุตสาหกรรมซีจีพีจีจะได้รับอานิสงส์จากการปรับแนวรถไฟความเร็วสูงจะสร้างจากอู่ตะเภา-ระยองที่บอร์ดอีอีซีอนุมัติให้เบี่ยงแนวหลบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างพิจารณาแนวเส้นทางขยับขึ้นไปทางถนนหมายเลข 36 ดูจากระยะห่างมีแนวโน้มจะเข้าไปใกล้กับที่ดิน ซี.พี.ไม่มากก็น้อย

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

22 พฤศจิกายน 2561

แบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจ

บนช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ

Share On Line

คัดลอกบทความ